เวลาเรานึกไม่ออกว่าจะเขียนบทความอะไรดีให้คนเข้ามาดูเว็บ มุกตัน คิดไม่ออก ไม่รู้จะหาไอเดียเขียนบทความยังไงดี ที่เขียนแล้วปังปูริเย่ ผมใช้วิธีนี้ลองเอาไปทำกันดู
เอาจริงๆ เว็บนี้เป็นเว็บที่ใช้ทดสอบการเรียกบอทและมันเป็นเว็บเก่า ทิ้งไว้นาน แถมเป็นเว็บที่ดี สามารถทำอะไรกับมันก็ได้หลายอย่างเลย ผมก็เลยเอามายำใหม่หลังจากไม่ได้ทำเว็บนี้มานานหลายปี โดยอยากเน้นเนื้อหาในเรื่อง การแนะนำวิธีการเขียนบทความสำหรับคนทำบล็อก
ส่วนบทความอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องก็มีจากผู้สนับสนุนบ้าง บางเรื่องมาจากบล็อกเก่าที่ปิดตัวไปแล้วแต่เสียดายเนื้อหาก็เอามาลงไว้ที่นี่ ถ้าดูบทความเก่าๆ จะเห็นชัดเจนว่ามันมั่วไปหมด
ข้อดีของเว็บที่มีบทความมั่วๆ นี่แหละมันทำให้สามารถลงอะไรได้หลายอย่าง แต่ถามว่าคุณภาพไหม ไม่เลย ฮ่าฮ่า แต่ก็แยกเป็นเรื่องไปได้หลายเรื่องอยู่ คล้ายกับเว็บวาไรตี้ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นจับฉ่าย มันเลยง่ายที่จะเอาเนื้อหาที่หลากหลายมาลง แค่จัดเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน ก็สามารถเป็นเว็บที่ดีได้
แล้วข้อดีอีกอย่างของการทำเว็บบล็อกพวกนี้คือ เวลามุกตัน คิดอะไรไม่ออก เราสามารถเขียนเรื่องที่อยากเขียนโดยไม่ต้องไปตีกรอบว่า มันต้องเป็นเรื่องนั้นเท่านั้น จึงมีความเป็นฟรีครีเอทีฟสูงในบล็อกแบบนี้
แล้ววันนี้ผมก็จะมานำเหนอเรื่องนี้แหละ เรื่องที่หลายคนเคยเป็นและกำลังจะเป็น นั่นคือ ไม่รู้ว่าจะเขียนบทความอะไรลงในบล็อก มันตันไปหมด ซึ่งผมมักจะใช้วิธีนี้เวลามันหาอะไรเขียนไม่ได้ (สำหรับพวกที่ไปตีกรอบว่าต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับอย่างนี้เท่านั้น ก็ใช้วิธีเดียวกันได้)
เทคนิคการหาบทความมาเขียนลงบล็อก
- หาเรื่องน่าสนใจใน google โดยพิมพ์ไปเรื่อยเปื่อย กดไปเรื่อย พอเจอก็จับไอเดียนั้นมาใช้
- หาเรื่องที่ต้องการใน google trend
- เปิดดูเว็บข่าว แล้ว Ctrl+F คำที่ต้องการ
- ออกไปเดินเล่น พักสมอง เดี๋ยวก็นึกออก
3 ข้อหลังผมขอไม่อธิบาย แต่จะเน้นไปตรงข้อแรก ใช้คำที่เราสนใจพิมพ์เข้าไป แล้วมันจะได้ไอเดียโผล่เข้ามา
ขอบอกก่อนว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการทำวิจัยคีย์เวิร์ดใดๆ เป็นเพียงการหาไอเดียในการเขียนบทความเท่านั้น
หาไอเดียเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการเขียนบล็อก
เทคนิคการหาเรื่องราวมาเขียนบล็อก หาไอเดียต่างๆ เอามาเขียนบทความลงบล็อก ซึ่งวิธีนี้ผมใช้บ่อยมาก
เราควรเริ่มหาไอเดียก่อน โดยการพิมพ์ไปเรื่อยเปื่อย ไม่ต้องไปสนใจคำค้นหาที่เราคิดขึ้น คอยดูแต่ผลการค้นหาเท่านั้น พิมพ์ให้เจอสิ่งที่เราสนใจ พอเราเจอคำที่เราคิดว่าใช่ มันใช่แน่ๆ ก็แค่เอาคำที่เราคิดว่าใช่นั้นแหละไปค้นหาอีกรอบ หาจนกว่าจะเจอคำที่ใช่ที่ดีที่สุด
ถาม : อะไรคือคำที่ใช่
ตอบ : คำที่ใช่คือ คำในหัวข้อของแต่ละเว็บ ส่วนใหญ่จะใช้คำคล้ายกันหรือคำเดียวกัน
เราไม่รู้หรอกว่าคำที่ดีคือคำว่าอะไร (ดีในเรื่องคนค้นหาเยอะต้องไปทำวิจัย keyword แต่หากดีในเรื่องที่เราพอจะเขียนเกี่ยวกับเรื่องนั้นได้ นี่แหละดีสุด) ก็ค้นก็คุ้ยไปเรื่อย พอเราเจอหัวข้อบนเว็บต่างๆ ที่มันคล้ายกัน และผลการค้นหามากพอ นั่นแหละคือคำที่น่าสนใจ จากภาพด้านบน เราได้คำมา 3 คำคือ
- เขียนบทความอะไรดี
- วิธีเขียนบทความ
- ไอเดียเขียนบทความ
มันยังกว้างอยู่ เราก็แค่เลือก ไม่ต้องไปสนใจถูกผิดหรือไม่แน่ใจว่าคำนี้มีผลการค้นหาเยอะไหม แต่เราควรเลือกคำที่คิดว่าเราน่าจะเขียนเนื้อหานั้นได้ ไม่ใช่ไปเลือกคำที่ไม่รู้จัก สุดท้ายก็ติดกับดัก ต้องไปเข้าเว็บ ไปก๊อบหรือเอาของเค้ามาใช้อีก ถ้าทำแบบนั้น ไม่ต้องเสียเวลาหาไอเดียหรอก
ผมเอาคำที่คิดว่าน่าจะเขียนได้ คือคำว่า “เขียนบทความอะไรดี” ไปค้นหาต่อเพื่อให้เจาะจงยิ่งขึ้น ถามว่าทำไมถึงเอาคำนี้ กูก็บอกไม่ถูกว่ะ มันขึ้นมาในหัวว่ามันต้องคำนี้ กูจะเอาคำนี้
ทีนี้ พอเจอคำที่ใช่ และถูกหลักการคร่าวๆ ได้แล้ว (คือมันจะเป็นคำที่คนส่วนใหญ่ใช้กันทั่วไป) คำยอดนิยมพวกนี้มันอาจไม่ตรงกับความคิดของเรา แต่เป็นคำที่ดี เราก็ใช้คำนั้นค้นต่อไปอีกทีนึง จากภาพด้านบน เห็นสิ่งที่ผมเห็นไหม (ผมไม่ขีดให้ดูเพื่อจะให้มองว่าเห็นเหมือนกันไหม หรือใครเห็นต่าง)
สิ่งที่ผมเห็นคือ ผมเจอหัวข้อที่แคบลง และเกี่ยวข้องกับหัวข้อเดิม แต่จากหน้านี้เราได้เครื่องมือที่บอกว่า คนส่วนใหญ่เค้าหาอะไรอยู่ ซึ่งจะได้แบบนี้
เราจะเจอกับหัวข้อที่โปรแกรมมันวิเคราะห์มาให้แล้วว่า นี่แหละ คนเค้าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันมาก เราก็เอาเรื่องพวกนี้มาใช้เป็นหัวข้อในการเขียน จากภาพด้านบน มีคำที่เกี่ยวข้องกับ keyword ที่เราใช้เยอะมาก คัดมาได้ตามนี้
- เขียน Content อะไรดี
- ตัวอย่างเขียนบทความ
- ฝึกเขียนบทความ
- เขียนอะไรดี
- เขียนอะไรในสมุดดี
- หัวข้อบทความที่น่าสนใจ
ขอบอกอีกครั้ง นี่ไม่ใช่การวิจัยคีย์เวิร์ดเพื่อจะเอาไปใช้ในการเขียนบทความ แต่เป็นการหาไอเดียในการเขียนเนื้อหาที่เราอยากเขียน
บทความนี้จะเสนอแต่ไอเดีย ไม่สนใจเรื่องอันดับหรือจำนวนคนเข้าชมใดๆ
พอเราได้หัวข้อแล้วก็ลุยค้นหาต่อ เพราะถ้าหัวข้อมันยังกว้างอยู่ก็ต้องค้นหาต่อไป แต่ถ้าค้นหาไปจนกระทั่งเจอที่แคบที่สุดแล้วก็นำหัวข้อนั้นไปเขียนได้เลย จบ.. แต่..
แต่ถ้าได้หัวข้อที่ไม่มีข้อมูลในหัวเลย หรือไม่มีความรู้เรื่องนั้นเลย จะทำยังไง คำตอบคือจำเป็นต้องวิ่งเข้าไปติดกับดัก
แน่นอนว่าการหาข้อมูลในเรื่องที่เราไม่รู้ หรือไม่เข้าใจ เพื่อจะนำมาเขียน มาเรียบเรียงใหม่ให้ได้ในแนวทางของเรา ต้องยอมติดกับดัก (คือการใช้ search เพื่อไปเปิดเว็บอื่นแล้วเอาเนื้อหามาใช้ หรือเรียบเรียงใหม่) การทำแบบนี้เป็นวิธีปกติที่คนทั่วไปทำกัน
ถ้าเราไม่รู้ เราก็แค่ต้องหามันให้เจอและเรียนรู้
อีกเรื่องที่อยากจะบอกคือ ถ้าเราไปเจอหัวข้อที่มันกว้างไป เราต้องเจาะจงลงลึกเข้าไปอีก ถ้ากว้างมาก เราอาจเขียนได้ไม่ครอบคลุม และเรื่องอาจยาวเกินไปจนคนไม่อ่าน สิ่งสำคัญที่สุดคือ จงเป็น ผู้เชี่ยวชาญในการเรียบเรียงเนื้อหา เป็นได้ยังไงก็กดไปอ่านย้อนหลังกันดู
ทำหัวข้อบทความ ให้กระชับและเจาะจงยิ่งขึ้น
เรื่องนี้ถ้าทำให้เห็นชัดเจนและง่ายที่สุดคือ การเอาคำที่ได้ไปค้นหาอีกรอบเพื่อดูว่ามันจะให้ผลลับที่แคบลงและเกี่ยวข้องที่สุดได้ไหม
ด้วยเทคนิคการใช้ Long Tail Keyword คือการนำเอาคำเดิมไปค้นหาอีกรอบเพื่อให้ได้คำใหม่ที่เจาะจงกว่า เช่น เอาคำว่า “หัวข้อบทความที่น่าสนใจ” ไปค้นหาอีกรอบ แล้วผมก็เจอไอเดีย ตามภาพ..
เอาจริงๆ เรื่องการเพิ่มคำเข้าไป หรือว่าตัดบางคำออก เพื่อให้ได้คำที่เจาะจงมากขึ้น ไม่ว่าจะในคีย์เวิร์ด หรือในเนื้อหา เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งของการทำ SEO เค้าเรียกอะไรจำไม่ได้ น่าจะเกี่ยวกับเรื่องของ Long Tail Keyword นี่แหละ ในการเขียนบทความที่ดีต้องมีเรื่องนี้เช่นเดียวกัน นั่นก็เพื่อเจาะจงให้เรื่องที่เขียน เป็นสากล และคนส่วนใหญ่หาเจอได้นั่นเอง
ตัวอย่างการตัดและการเพิ่มคำเพื่อให้เจาะจงยิ่งขึ้นจากหัวข้อที่เราได้มา เป็นแบบนี้
- เราควรเขียน Content อะไรดีให้คนอ่านเยอะๆ
- ตัวอย่างการเขียนบทความที่ดี
- การฝึกเขียนบทความให้มีคุณภาพ
- เขียนอะไรดีถ้าเราไม่มีไอเดียใหม่
เขียนอะไรในสมุดดี(ตัดออก)- วิธีเขียนหัวข้อบทความ
ที่ให้น่าสนใจ
พอตัดหรือเพิ่มคำที่เจาะจงในหัวข้อต่างๆ แล้ว ก็จะเห็นไอเดียใหม่เกิดขึ้น เช่นคำว่า “วิธีเขียนหัวข้อบทความให้น่าสนใจ” เราอาจจะทำให้มันแคบลงไปอีกโดยการเพิ่มคำว่า “เกี่ยวกับการเขียนบล็อก” เข้าไป จะได้เป็น
- วิธีเขียนหัวข้อบทความให้น่าสนใจ เกี่ยวกับการทำบล็อก
เมื่อเราได้หัวข้อที่ดี และมีข้อมูลพร้อมจะเขียนแล้ว ที่เหลือก็เป็นเนื้อหาที่ดีในบทความนั้น สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องมีคือ หัวข้อที่เราเขียนลงไปนั้น แต่ละหัวข้อควรอยู่ใน Tag H2, H3 แต่ไม่ควรย่อยลงลึกเกินไปขนาดเป็นบทความวิชาการที่ต้องมีถึง H4, H5, H6 ไม่ต้อง เราอาจนำหัวข้อที่เกี่ยวข้องที่เราหาเจอจากด้านบนมาใช้เป็นหัวข้อย่อยของเรื่องได้ แต่ควรเลือกให้เกี่ยวข้องกับเรื่องหลักที่สุด
แล้วก็ลุยให้จบ…
แนะนำเว็บน่าเข้า https://www.1daynight.com